วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ( Seven Wonders of the World) คือ สิ่งก่อสร้างที่มีความยิ่งใหญ่และโดดเด่น ทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน โดยมีการกล่าวถึงครั้งแรกในงานของเฮโรโดตุส (Herodotos หรือ Herodotus เมื่อราว 5 ศตวรรษก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นก็การอ้างถึงจากกวีชาวกรีก เช่น คัลลิมาฆุส แห่งคีเรนี, อันทิพาเตอร์ แห่งซีดอน และฟิโล แห่งไบเซนไทน์ เมื่อราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ หรือสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดของโลก ในบัญชีแรก เรียกกันว่า เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ และหลังจากนั้น ยังมีบัญชีเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางและยุคปัจจุบัน โดยไม่ปรากฏผู้จัดทำรายการอย่างชัดเจน




 เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณกลาง
1.โคลอสเซียม
(อังกฤษ: Colosseum หรือ Flavian Amphitheatre; อิตาลี: Colosseo - โคลอสโซ) เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไททัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือประมาณปี ค.ศ. 80 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน มีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรี เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 10 ปี
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โคลอสเซียมได้รับเลือกให้เป็น1 ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ



 

2.สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย
สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย[1] (อังกฤษ: Catacombs of Kom el Shoqafa) เป็นสถานที่ฝังศพใต้ดินของกษัตริย์อียิปต์โบราณอีกแบบหนึ่งนอกเหนือไปจากปิรามิด อยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ อุโมงค์แห่งนี้มีชื่อเรียกว่า คาตาโกมบ์ (GATACOMBS) โดยขุดลึกเข้าไปในภูเขาหินทรายเป็นขั้นๆ บางตอนมีความลึกถึง 70-80 ฟุต มีทางเดินกว้าง 3-4 ฟุต ทางเดินจะวกไปเวียนมาเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ ผนังอุโมงค์ถูกเจาะเป็นช่องๆ ลึกเข้าไปเพื่อใช้เป็นที่บรรจุศพ มีแท่นบูชาและตะเกียงดวงเล็กๆ แขวนไว้ บางส่วนของอุโมงค์แห่งนี้ได้ตบแต่งเอาไว้อย่างวิจิตรพิสดารสภาพในปัจจุบันยังคงความสมบูรณ์เอาไว้พอที่จะให้ผู้สนใจเข้าไปเที่ยวชมได้

 


3.กำแพงเมืองจีน
 (จีนตัวเต็ม: 長城; จีนตัวย่อ: 长城; พินอิน: Chángchéng ฉางเฉิง, อังกฤษ: Great Wall of China) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ฉิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกฮันส์ หรือชนเผ่าซยงหนู (Xiongnu) คำว่า ซยงหนู บางทีก็สะกดว่า ซุงหนู หรือ ซวงหนู ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับอารยธรรมจีนในยุคต้นๆ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว (ราว 400 ปีก่อนคริสตกาล) เนื่องจากจะเข้ามารุกรานจีนตามแนวชายแดนทางเหนือ ในสมัยราชวงค์ฉิน ได้สั่งให้สร้างกำแพงหมื่นลี้ตามชายแดน เพื่อป้องกันพวก ซยงหนู เข้ามารุกราน และพวกเติร์กจากทางเหนือ หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ
กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ (จีนตัวเต็ม: 萬里長城; จีนตัวย่อ: 万里长城; พินอิน: Wànlĭ Chángchéng ว่านหลี่ฉางเฉิง) สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 ว่า นักโบราณคดี ได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ "กำแพงเมืองจีน" อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศ [1] และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้




 4.สโตนเฮนจ์
(อังกฤษ: Stonehenge) เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางทุ่งราบกว้างใหญ่บนที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในบริเวณตอนใต้ของเกาะอังกฤษ ประกอบไปด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันวางนอนลง และบางอันก็ถูกวางซ้อนอยู่ข้างบน
นักโบราณคดีเชื่อว่ากลุ่มกองหินนี้ถูกสร้างขึ้นจากที่ไหนสักแห่งเมื่อประมาณ 30002000 ปีก่อนคริสตกาล กล่าวคือ การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีเมื่อ พ.ศ. 2551 เผยให้เห็นว่าหินก้อนแรกถูกวางตั้งเมื่อประมาณ 24002200 ปีก่อนคริสตกาล [1] ในขณะที่ทฤษฎีอื่น ๆ ระบุว่ากลุ่มหินที่ถูกวางตั้งมาตั้งแต่ก่อนหน้านั้นถึง 3000 ปีก่อนคริสตกาล





5.เจดีย์กระเบื้องเคลือบนานกิง
 (อังกฤษ: Porcelain Tower of Nanjing) ตั้งอยู่เมืองนานกิง ตอนเหนือของจีน สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในสมัยราชวงศ์หมิง เจดีย์มีลักษณะทรงรูปแปดเหลี่ยม หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว ชายคาแขวนกระดิ่ง 80 ลูกโดยรอบ องค์เจดีย์ก่ออิฐประดับกระเบื้องเคลือบยอดแหลมเป็นทรงกลมต่อขึ้นไปเคลือบทอง เดิมองค์เจดีย์มีเพียง 3 ชั้น ในประมาณพ.ศ. 1973 จักรพรรดิยุ่งโล้โปรดสร้างอีก 6 ชั้น รวม 9 ชั้น มีโซ่โยงจากเหลี่ยมของเจดีย์ 8 เส้น มีกระดิ่งตามแนว 72 ลูก ปัจจุบันเจดีย์ทรุดโทรมมากเนื่องจากถูกเผาสมัยเกิดกบฏไท่ผิงเมื่อ พ.ศ. 2392



 





6.หอเอนเมืองปิซา
(อิตาลี: Torre pendente di Pisa หรือ La Torre di Pisa, อังกฤษ: Leaning Tower of Pisa) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) น้ำหนักรวม 14,500 ตันโดยประมาณ มีบันได 293 ขั้น เอียง 3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก 3.9 เมตร





 7.ฮาเยียโซเฟีย หรือ ฮาเจียโซเฟีย
(ภาษาตุรกี: Ayasofya, ภาษาละติน: Sancta Sapientia, ภาษากรีก: Ἁγία Σοφία, อังกฤษ: Hagia Sophia) หรือชื่อในปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์อะยาโซเฟีย (Ayasofya Museum) เดิมเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกส์ ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่า ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมักถูกจัดให้อยู่ในรายการสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง[1] จุดเด่นอยู่ที่ยอดโดมขนาดมหึมากลางวิหาร และนับเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ ฮาเจียโซเฟียเคยเป็นโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมานานเกือบพันปี จนกระทั่งโบสถ์เซบียาสร้างเสร็จในปี 1520
สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างให้เป็นโบสถ์ในระหว่างปี ค.ศ. 532-537 โดยจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ และเป็นโบสถ์หลังที่สามถูกสร้างขึ้นในสถานที่เดียวกันนี้ (โบสถ์สองหลังแรกถูกทำลายในระหว่างการจลาจล) โบสถ์นี้เป็นศูนย์กลางของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ เป็นเวลาเกือบ 1,000 ปี